“ผ้าขาวม้าสารพัดนึก”

วัฒนธรรมบนผืนผ้าอันสวยสดงดงามของไทย  มีมากมายหลายหลาก  แตกต่างกันออกไป  แต่อีกหนึ่งลวดลายที่โดดเด่น คือ ผ้าลายตาราง ที่ใครๆ มักเรียกขานกันว่า “ผ้าขาวม้า”  ผ้าทอลายตาราง  ผ้าทอลายนี้จัดเป็นสัญลักษณ์สัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่อยู่เคียงคู่มากับคนไทยกว่าเก้าร้อยปี   คนไทยจำนวนมากมีความใกล้ชิดกับผ้าชนิดนี้มาตั้งแต่เด็กจนโต  ผ้าขาวม้าในอดีตเป็นผ้าที่ควรคู่กับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  เหตุผลประการแรกเพราะ งานหลักของผ้าขาวม้าคือ ผ้าที่ใช้ขจัดสิ่งปฏิกูล เหงื่อไคลออกจากร่างกาย ผู้ชายมักใช้พาดบ่า  เคียนเอว  พกพาเวลาเดินทางไกล ไม่ใช่ผ้าที่ใช้เสริมความงาม  ประดับตกแต่งเรือนร่าง   ประการที่สอง ผ้าขาวม้าเป็นผ้าที่ใช้ในพื้นที่ส่วนตัว และมักใช้กับส่วนล่างของร่างกาย แม้นจะไม่มีข้อห้ามในการนำเอามาใช้กับส่วนบนของร่างกายก็ตาม  ผ้าขาวม้าจึงเปรียบได้กับของใช้ธรรมดาชิ้นหนึ่ง  ประการที่สาม ผ้าขาวม้าส่วนใหญ่ใช้เพื่อนุ่งห่มหรือปกปิดร่างกายของคนในแถบชนบทเสียเป็นส่วนใหญ่  คนเมืองจึงมองว่าเป็นเรื่องตลก และเชย  บัณฑิต  ปิยะศิลป์.  http://www.thaingo.org/cgi-bin/content/content2/show.pl?0325.

 จากการนำผ้าขาวม้าไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  จึงทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบการใช้ไม่ว่าจะเป็นนุ่งเล่น  อาบน้ำ   เคียนเอว  นำมาตัดเย็บเป็นเสื้อผ้า  รองเท้า  ทำชุดผ้าปูที่นอน  หมอน  ผ้าห่ม  ใช้เช็ดตัว  คาดศรีษะ  ผูกเป็นเปลนอนให้กับเด็กๆ  ใช้เป็นผ้ากันแดด  ตกแต่งเวทีสวยงาม   เป็นของที่ระลึก  และเป็นของฝาก  อื่นๆ อีกมากมาย   ส่งผลต่อความคิดที่ว่าใช้ผ้าขาวม้าแล้วตลก และเชยหายไปจากสังคมไทยในปัจจุบัน   ผู้เขียนรู้สึกหลงใหลในมนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลวดลายตารางที่ว่านี้  จึงอยากนำเสนอเรื่องราววิวัฒนาการของผ้าขาวม้า  พื้นที่ทอผ้าขาวม้าในแต่ละภูมิภาค  รายละเอียดดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นภาพผ้าขาวม้าลายตารางสารพัดประโยชน์  ที่พัฒนามาเป็นผ้าขาวม้าสารพัดนึกภายใต้ความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย

คำสำคัญ :  วัฒนธรรม  สร้างสรรค์  ผ้าขาวม้า  สารพัดนึก

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *